เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 1. สจิตตวรรค 9. ปัพพัชชาสูตร
9. ปัพพัชชาสูตร
ว่าด้วยจิตที่ได้รับการอบรมตามสมควรแก่บรรพชา
[59] ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า
‘จิตของเราจักได้รับการอบรมตามสมควรแก่บรรพชา และบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้น
แล้ว จักไม่ครอบงำจิตอยู่ (คือ) จิตของเราจักได้รับการอบรมด้วยอนิจจสัญญา 1
จิตของเราจักได้รับการอบรมด้วยอนัตตสัญญา 1 จิตของเราจักได้รับการอบรมด้วย
อสุภสัญญา 1 จิตของเราจักได้รับการอบรมด้วยอาทีนวสัญญา 1 จิตของเราจักรู้
ความประพฤติชอบและไม่ชอบของสัตว์โลกแล้วได้รับการอบรมด้วยสัญญา 1 จิต
ของเราจักรู้ความเจริญและความเสื่อมของสัตว์โลกแล้วได้รับการอบรมด้วยสัญญา 1
จิตของเราจักรู้ความเกิดและความดับแห่งสังขารโลกแล้วได้รับการอบรมด้วยสัญญา 1
จิตของเราจักได้รับการอบรมด้วยปหานสัญญา 1 จิตของเราจักได้รับการอบรมด้วย
วิราคสัญญา 1 จิตของเราจักได้รับการอบรมด้วยนิโรธสัญญา 1’ ภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
เมื่อใด จิตของภิกษุได้รับการอบรมตามสมควรแก่บรรพชา และบาปอกุศลธรรม
ที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ครอบงำจิตอยู่ (คือ) จิตได้รับการอบรมด้วยอนิจจสัญญา 1
จิตได้รับการอบรมด้วยอนัตตสัญญา 1 จิตได้รับการอบรมด้วยอสุภสัญญา 1 จิตได้
รับการอบรมด้วยอาทีนวสัญญา 1 จิตนั้นรู้ความประพฤติชอบและไม่ชอบของสัตว์
โลกแล้วได้รับการอบรมด้วยสัญญา 1 จิตรู้ความเจริญและความเสื่อมของสัตว์โลก
แล้วได้รับการอบรมด้วยสัญญา 1 จิตรู้ความเกิดและความดับแห่งสังขารโลกแล้วได้
รับการอบรมด้วยสัญญา 1 จิตได้รับการอบรมด้วยปหานสัญญา 1 จิตได้รับการ
อบรมด้วยวิราคสัญญา 1 จิตได้รับการอบรมด้วยนิโรธสัญญา 1
เมื่อนั้น ภิกษุนั้นพึงหวังได้ผลอย่าง 1 ใน 2 อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน
หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ก็จักเป็นอนาคามี
ปัพพัชชาสูตรที่ 9 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :127 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 1. สจิตตวรรค 10. คิริมานันทสูตร
10. คิริมานันทสูตร
ว่าด้วยการหายอาพาธของพระคิริมานนท์
[60] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล ท่านพระคิริมานนท์อาพาธ ได้รับทุกข์
เป็นไข้หนัก ท่านพระอานนท์จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระคิริมานนท์อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก
ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคได้โปรดอนุเคราะห์เสด็จไปเยี่ยมท่านพระ
คิริมานนท์ยังที่อยู่เถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ถ้าเธอเข้าไปหาแล้วกล่าวสัญญา 10
ประการแก่คิริมานนท์ภิกษุ เป็นไปได้ที่การอาพาธของคิริมานนท์ภิกษุจะสงบระงับ
โดยฉับพลันเพราะได้ฟังสัญญา 10 ประการนี้
สัญญา 10 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. อนิจจสัญญา 2. อนัตตสัญญา
3. อสุภสัญญา 4. อาทีนวสัญญา
5. ปหานสัญญา 6. วิราคสัญญา
7. นิโรธสัญญา 8. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา
9. สัพพสังขาเรสุ อนิจจสัญญา 10. อานาปานสติ

อนิจจสัญญา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี พิจารณา
ว่า ‘รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง’
เป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงในอุปาทานขันธ์ 5 นี้อยู่อย่างนี้
นี้เรียกว่า อนิจจสัญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :128 }